Вы находитесь на странице: 1из 8

สมการว งโ คจรข องดาวเครา ะห์ ภายใ ต้แร งดึ งดูดร ะหว ่าง มวล

การศึกษาวงโคจรของดาวเคระห์ในระบบสุริยะของเรา - ที่มา
ปัญหาการหาวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรานั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณนับ
ตั้งแต่เริ่มมีการสังเกตและบันทึกตำาแหน่งของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์
ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ คำา ว่าดาวเคราะห์ในภาษาอังกฤษคือ planet นั้นมีรากศัพท์ใน
ความหมายว่า “นักเดินทาง” คือมีการเปลี่ยนตำาแหน่งเมื่อเทียบกับดาวอื่นๆ ทีไ่ กลออกไป (fixed stars) ใน
สมัยโบราณเชื่อกันตาม Ptolemy ว่าดาวเคราะห์ทั้งหมด รวมถึงดาวอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างก็โคจรรอบ
โลกเป็นรูปวงกลม แต่ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ย้อนกลับ (retrograde motion) ของ
ดาวเคราะห์บางดวง เช่น ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์ได้ และยังไม่สามารถอธิบายว่าเหตุใดจึง
ไม่เกิดเหตุการณ์นี้กับดาวพุธและดาวศุกร์
ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 14 – 15 ในช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ได้เกิดทฤษฎี
ใหม่ขึ้นโดย Nicolas Copernicus โดยกล่าวว่า ดาวเคราะห์ทั้งหลายรวมถึงโลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์
ไม่ใช่ในทางกลับกัน แต่ก็ยังเชื่อว่าวงโคจรเป็นวงกลมอยู่ (ชาวตะวันตกในสมัยนั้นยังเชื่อว่าเทหวัตถุเหล่านี้
อยู่ในสวรรค์ คือเป็น heavenly bodies ดังนั้นวงโคจรที่เป็นรูปวงกลมซึ่งเชื่อกันว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด
จึงเหมาะสม ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่ผิดดังที่จะได้เห็นจากหลักฐานในสมัยหลังๆ และ การคำานวณที่เรา
กำาลังจะศึกษาในโครงงานนี้)
ความก้าวหน้าอย่างแท้จริงมาถึงเมื่อ Tyco Brahe นักดาราศาสตร์ และ Johannes Kepler นัก
คณิตศาสตร์ ได้ทำา การศึก ษาการเคลื่ อนที่ ของ “นั กเดินทาง” เหล่านี้ โดย Tyco Brahe ได้ลงทุนสร้าง
อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ขนาดใหญ่โตเทียบกับที่ใช้กันมา (Quadrant ขนาดรัศมี 6 เมตรซึ่งมีความผิด
พลาดไม่เกินความกว้างของเข็มเย็บผ้าเมื่อมองจากระยะสุดแขน ) ทำาให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และ Tyco ได้ทิ้ง
ข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ Kepler วิเคราะห์ ผลจากการศึกษาทำาให้สรุปกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ 3 ข้อ
โดยใช้เฉพาะข้อมูลเท่านั้น แต่ยังไม่มีเหตุผลว่าทำาไมจึงเป็นเช่นนี้ กฎทั้งสามคือ
1. กฎแห่งวงรี วงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีที่มีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสจุดหนึ่ง
2. กฎแห่งพื้นที่ เส้นตรงที่ต่อระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์จะกวาดพื้นที่ได้เท่ากันในเวลาเท่ากัน
กฎนี้แสดงว่าเมื่อดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มันจะโคจรเร็วกว่าเมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์
3. กฎฮาร์โมนิก กำาลังสองของคาบของการโคจรของดาวเคราะห์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำาลังสามของ
กึ่งแกนยาว (รัศมีเฉลี่ย) ของวงโคจร

การให้เหตุผลว่าทำาไมดาวเคราะห์เหล่านี้จึงโคจรโดยมีระเบียบแบบแผนดังกล่าวกำากับนั้น ได้รับ
การอธิบายโดย Sir Isaac Newton ในเวลาต่อมา (โดยการรบเร้าของ Edmund Halley ผู้ค้นพบดาวหาง
ที่ได้รับขนานนามตามชื่อของเขา เพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ Principia ของ Newton ที่เป็นต้นแบบ
ของฟิสิกส์เชิงทฤษฎีมาอีกกว่า 300 ปี)
เนื้อหาที่เราจะทำาการศึกษาก็คือ การหาวงโคจรของดาวเคราะห์โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะ
ได้ผลลัพธ์เดียวกับ Newton แต่ว่าเราจะพิจารณาวิธีอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นภายหลัง เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใน
การแก้ปัญหา และนำาวิธีการไปประยุกต์ใช้กับปัญหาอืน่ ๆ อย่างไรก็ดี จะกล่าวถึงประวัตติ ่ออีกเล็กน้อยก่อน
ที่จะเริ่มเนื้อหาส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์
หลังจากเวลา 300 ปีผ่านไป ได้มีแบบจำา ลองใหม่โ ดย Albert Einstein ซึ่งให้ภาพลัก ษณ์ ของ
แรงดึงดูดว่าเป็นการบิดเบี้ยวของกาล -อวกาศ (space-time) และวัตถุใดๆ จะพยายามไปตามเส้นทางที่สั้น
ที่สุดในกาล-อวกาศนั้น เรียกเส้นทางสั้นสุดนั้นว่า geodesic ซึ่งในกรณีที่พื้นเรียบนั้น geodesic ก็จะเป็น
เส้นตรงอย่างที่คาดกันไว้ แต่ว่าหากกาล-อวกาศมีการยุบตัวลงเนื่องจากการมีอยู่ของมวล ก็จะทำา ให้เส้น
geodesic ดังกล่าวกลายเป็นเส้นโค้ง เช่น วงกลม วงรี พาราโบลา หรือ ไฮเปอร์โบลา ทำาให้เห็นเป็นวงโคจร
นอกจากนี้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปยังทำานายการส่ายควงของตัววงโคจรทำาให้วงโคจรแทนที่จะกลับมาปิด
ที่เดิม ก็กลายเป็นค่อยๆ หมุนไปเป็นรูปกลีบดอกไม้แทน
นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาทางควอนตัมฟิสิกส์ได้แสดงได้ให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว จักรวาลของเรามี
ลักษณะเป็นขั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง (discreteness) ในหลายๆ ลักษณะ ซึ่งผลตามมาอย่างหนึ่งก็คือ จริงๆ แล้ววง
โคจรของดาวเคราะห์นั้นไม่ได้มีได้ทุกระยะห่างจากดวงอาทิตย์ แต่ว่าจะมีวงโคจรที่เสถียร เช่นเดียวกับ
อิเล็กตรอนในอะตอม (แนวคิดของ allowed orbit นี้ก็มาจากภายในอะตอมนี้เอง) แต่ว่าเนื่องจากขนาด
อันใหญ่โตของวงโคจร ทำาให้แต่ละขั้นที่เป็นไปได้นั้นห่างกันมากจนบอกได้ยากมาก แลเหมือนกับว่ามีความ
ต่อเนื่อง
สิ่งที่น่าตกใจที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นปรากฎขึ้นในครึ่งหลังของคริสศตวรรษที่ 20
นี้เอง โดยการศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำานวณอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นว่าระบบของวัตถุที่เคลื่อนที่ภาย
ใต้แรงดึงดูดระหว่างมวลนี้ มีลักษณะยุ่งเหยิง (chaotic) ในแง่ที่ว่าไม่สามารถทำานายได้อย่างชัดเจนว่าจะ
เกิดอะไรขึ้น หรือว่า อยู่ดีๆ ดาวเคราะห์จ ะบังเอิ ญใกล้กันเข้ามาชนพุ่งเข้าหากันในที่สุดได้หรือไม่ การ
เปลี่ยนตำา แหน่งเพียงเล็กน้อยของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งอาจส่งผลให้ทั้งระบบเข้าสู่สภาพเสียสมดุลย์ก็ได้
เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า butterfly effect (จากความเชื่อที่ว่าการที่ผีเสื้อกระพือปีกในซีกโลกหนึ่ง ก็อาจจะ
ทำา ให้เกิดพายุในอีกซีกโลกได้ เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศของโลกเองก็มีลักษณะยุ่งเหยิงเช่นเดียวกัน)
นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อร้อยหรือสองร้อยปีก่อนยังมีการพิสูจน์ไปแล้วว่าปัญหาการเคลื่อนของแรงดึงดูด
ระหว่างมวลของระบบวัตถุ 3 ชิ้น (Three-body problem) ก็ทำาให้เกิดลักษณะยุ่งเหยิงแล้วในกรณีทั่วๆ ไป
นั่นคือต่อให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีแค่ไหน แต่ในทางทฤษฎีเราก็ถูกจำากัดการทำานายของเราจากขีดจำากัด
ของความแม่นยำาในการวัดของเราเอง (ทั้งคุณภาพของเครื่องมือ และ จากหลักความไม่แน่นอนของไฮเซน
เบิร์ก) ทำาให้ไม่สามารถทำานายได้ 100% อีกต่อไปถึงสภาพของระบบสุริยะในอนาคต
จะเห็นว่าจากความพยายามที่จะเข้าใจการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เรารู้จักมาแต่โบราณเหล่านี้
ทำาให้เราได้เปิดโลกทัศน์และพัฒนาความเข้าใจในโลกรอบตัวของเราในระดับรากฐานขึ้นอย่างมากมาย

กฎการเคลื่อนที่ของ Newton
ตามที่เราทราบกันแล้ว Newton ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ไว้สามข้อ สรุปได้ง่ายๆ ดังนี้
1. วัตถุที่อยู่นิ่ง ถ้าไม่มีแรงกระทำาก็จะอยู่นิ่งต่อไป
2. วัตถุที่อยู่นิ่ง ถ้ามีแรงมากระทำา จะทำาให้เกิดความเร่งแปรผันตรงกับ “มวล” ของวัตถุนั้น
3. ทุกๆ แรงกระทำา จะมีแรงกระทำาในทิศตรงข้ามกลับมาโดยมีขนาดเท่ากัน

กฎที่จะมีความสำาคัญกับเราในการศึกษาครั้งนี้ก็คือกฎข้อที่สอง ซึ่งสามารถเขียนในทางคณิตศาสตร์ได้ว่า
F  ma
2
dv d x
โดยที่ a  คือความเร่งของวัตถุ
dt dt 2
m คือมวลของวัตถุ (ถือว่าคงที่ เนื่องจากพิจารณาความเร็ว v = c )

การวิเคราะห์โดยใช้เวกเตอร์
การพิจารณาการเคลื่อนที่แบบดังกล่าว เป็นการสะดวกที่จะกำาหนดเวกเตอร์ฐานที่เราจะทำา งาน
ด้วยเป็นเวกเตอร์ออกจากศูนย์กลาง และ เวกเตอร์ตั้งฉากกับเวกเตอร์แรก ซึ่งจะเรียกว่า uˆr และ û ตาม
ลำาดับ มีสมการดังนี้
uˆr  iˆ cos t  ˆj sin t
uˆ  iˆ sin t  ˆj cos t
เมื่อ iˆ, ˆj เป็นเวคเตอร์ในแนวแกน x และ y ตามลำาดับ

สังเกตว่า
d d
uˆr  uˆ , uˆ  uˆr
dt dt
2
d d2
2 r
ˆ
u    2
ˆ
u r , uˆ   2uˆ
2 
dt dt
กลับมาพิจารณาการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์อีกครั้ง ให้ rr  ruˆ เป็นเวคเตอร์บอกตำา แหน่งของ
ดาวเคราะห์หนึ่งๆ จะได้
r  d   d  ˆ
v  r uˆr  r   u
 dt   dt 
r  d 2r  d   ˆ  d 
2
 dr   d   ˆ
2
a   2 r 
 r u  r 2
 2   u
 dt  dt    dt  dt   dt  
สังเกตว่าแรงดึงดูดที่ดวงอาทิตย์ (มวล M) กระทำาต่อดาวเคราะห์ (มวล m) นี้ก็คือ
r GMm r
f   2 uˆr  ma
r
ดังนั้นจะได้สมการ
 d 2r  d   ˆ  d 
2 2
 dr   d   ˆ GM
 2 r   ur   r 2  2    u   2 uˆr
 dt  dt    dt  dt   dt   r
นั่นคือ
 d 2r  d 
2
GM
  r     2 ..........  *
 dt 2
 dt  r

 r d   2  dr   d   0......... **
2

 dt 2     
 dt   dt 
ก่อนอื่นสมการ (**) สามารถเขียนเป็น
1 d  d  2 dr
  0
 d  dt  dt  r dt
 
 dt 
d   d   d
   ln r   0
2
 ln 
dt   dt   dt
d   2 d  
ln  r  0
dt   dt  
d d
นั่ น คื อ r2 เป็ น ค่ า คงที่ โดยทั่ ว ไปแล้ ว เราจะพิ จ ารณาว่ า C  mr 2 เป็ น ค่ า คงที่ ซึ่ ง เรี ย กว่ า “
dt dt
โมเมนตัมเชิงมุม” และการที่ค่าโมเมนตัมเชิงมุมนี้คงที่เรียกว่า หลักการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเป็นจริง
สำาหรับทุกๆ แรงเข้าศูนย์กลาง (central force)

d C
เมื่อแทนค่า  ลงใน (*) จะได้ว่า
dt mr 2
d 2r C 2 GM
2
 2 3   2 ....  ***
dt mr r
เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว จะเห็นว่าการแก้สมการหา r ในรูปของ t ของโดยตรงค่อนข้างจะยากและยังไม่ได้
ประโยชน์อีกด้วย เนื่องจากสมการในรูปเชิงขั้วทั่วไปมักจะเขียน r ในรูป θ มากกว่า จึงเป็นการดีที่เราจะ
d2  1
เขียนสมการนี้ใหม่โดยพิจารณา   ดังนี้
d 2  r 
 1  dr
d  1 d  1 r  dt   2 m dr

r  dt
  
d  r  d dt  C  1  C dt
  2 
 m  r 
d  d  1  d  m dr  m d 2r
      
d  d  1  dt  d  r   dt  C dt  C dt 2 m2 r 2 d 2r
      2
d  d  r  
 d C C C dt 2
2 2
dt mr mr
แทนลงในสมการ (***)
C2 d 2  1  C2 GM
 2     2
m r d  r  m r
2 2 2 3
r
d 2  1   1  GMm 2
    
d 2  r   r  C2
d 2  1 GMm 2   1 GMm 2 
    
  
d 2  r C2   r C2 
1 GMm 2
  A cos    B 
r C2
เมื่อ A และ B เป็นค่าคงที่ซึ่งเหมาะสม
1 T
r 
GMm 2
1  TA cos    B 
 A cos    B 
C2
C2
เมื่อ T  และ A, B เป็นค่าคงที่
GMm 2

สมการนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสมการของภาคตัดกรวยทั้ง 4 อย่างคือ วงกลม วงรี พาราโบลา และ ไฮ


เปอร์โบลา

การวิเคราะห์โดยใช้พิกัดเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Cartesian coordinates)


การแก้ปัญหาเดียวกันนี้สามารถพิจารณาโดยใช้มุมมองจากพิกัดเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Cartesian
coordinates) แทนการใช้ รู ป เชิ ง ขั้ ว ก็ ไ ด้ และในหลายกรณี ทำา งานได้ ง่ า ยกว่ า เนื่ อ งจากมี ค วามคุ้ น เคย
r
มากกว่า ในกรณีนี้ให้ P  t    x  t  , y  t   แทนตำาแหน่งของดาวเคราะห์เมื่อเวลาเป็น t
r
P  t    r  t  cos   t  , r  t  sin   t  
เมื่อ r  t แทนระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์ที่เวลา t
  t  แทนมุมที่เส้นลากเชื่อมดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์ทำากับแกนเอกของวงโคจร วัดทวนเข็ม
จะได้ว่า
r

v  t   r&sin   r&cos  , r&cos   r&sin  
dr & d
ในที่นี้เพื่อความสะดวก เราใช้สัญลักษณ์ ,  และจะได้
r&
dt dt
r

a t  & 
r& r&2 cos   r&
& 2r& 
& sin  , r&  
& r&2 sin   r&
& 2r& 
& cos    
& d 
2 2
d r &
เมื่อ &
r& , 
dt 2 dt 2
(เหตุผลที่เลือกใช้สัญลักษณ์ต่า งกันในสองวิ ธีก็เพื่อให้ผู้อ่า นเกิดความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ทั้งสองแบบ
โดยแบบแรกเป็นของ Leibnitz ส่วนแบบหลังนี้เป็นของ Newton ซึ่งมีความสะดวกในการทำางานต่างกัน)

แต่จากกฎของ Newton จะได้ว่า ar   GM


2
GM 
cos  ,  2 sin  

 r r 
ดังนั้นจากการเทียบ x-component และ y-component จะได้ว่า
 GM
 
r& r&2 cos   r&
 &  
& sin    2 cos  .....  1
& 2r&
r

GM
 &
  
r& r&2 sin   r& 
& 2r& 
& cos    2 sin  .....  2 
r
GM
 1 cos    2  sin  ; r& r&2   2
&
r
 2  cos    1 sin  ; r&
& 2r&& 0
สังเกตว่าสองสมการสุดท้ายนี้ก็คือชุดเดียวกับที่สามารถหาได้จากการวิเคราะห์ด้วยเวคเตอร์นี้เอง

การใช้ vector analysis ระดับสูงมาช่วยหาวงโคจร


กลั บ มาที่ ก ารใช้ เ วกเตอร์ อี ก ครั้ ง แต่ ค ราวนี้ เ ราจะพิ จ ารณาวิ ธี ใ ช้ เ วกเตอร์ แ บบที่ ไ ม่ ต้ อ งแจง
d
component ออกมาเลย แรกสุด เช่นเดียวกับวิธีอื่นๆ เราจะพิสูจน์ก่อนว่าค่าโมเมนตัมเชิงมุม mr 2 มี
dt
ค่าคงที่ในสนามของแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง (central force field)
พิจารณาโมเมนตัมเชิงมุม
r r r
Lrp
หาอนุพันธ์เทียบกับเวลาจะได้ว่า
r r r
dL r dr r dp
 p  r 
dt dt dt
r r r
r dr r dr r dp r r
แต่ว่า p  m ดังนั้น p P ทำาให้พจน์แรกเป็น 0 ส่วน r   r  F  0 เนื่องจากแรงเป็นแรงเข้า
dt dt r dt
r
สู่ศูนย์กลาง ( rr PF ) ดังนั้นจะได้ว่า dL  0 สำา หรับทุกๆ แรงที่เป็นแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง นั่นคือ Lr คงที่
dt
นอกจากนี้ การที่เวกเตอร์นี้คงที่ยังทำา ให้ได้ว่าวงโคจรทั้งหมดอยู่ในระนาบเดียวในปริภูมิสามมิติ (three-
dimensional space) อีกด้วย
คราวนี้เราพิจารณาแรงเข้าสู่ศูนย์กลางที่มีลักษณะพิเศษแต่พบได้ทั่วไป คือ แรงที่ขนาดแปรผกผัน
กับกำาลังสองของระยะทาง (inverse-square force) อันได้แก่แรงดึงดูดระหว่าง (ที่เรากำาลังพิจารณา ) และ
แรงคูลอมป์ (หรือแรงแม่เหล็กไฟฟ้า) สำาหรับแรงเหล่านี้ กฎข้อที่สองของ Newton จะมีลักษณะเป็น
r
dv k r
m  2 n
dt r
r
r r
เมื่อ n เป็นเวกเตอร์หน่วยในทิศทาง rr และ k เป็นค่าคงที่
r
สังเกตว่า
r r
r dr d r dr r dn
v   rn   n  r
dt dt dt dt
ดังนั้น
r r r r r
r r  r  dr r dn   2 dn 
L  r  p   rn    mv   mr  n   n  r   mr  n  
  dt dt    dt 
ต่อไป เราพบว่า
r r r r r
d r r  dv r   r dL  dv r k r r  r  dn r  dn r r 

vL   dt
 L   v   
 
L 
mr 2
 
n  L  k  n  n   n n  
dt dt  dt   dt  dt 
r r r r r r r r r
โดยกฎข้อที่สองของนิวตัน และสองสมการก่อนหน้านี้กับเอกลักษณ์ x   y  z   y  x z   z  x y 
r
r r dn r
เนื่องจาก n n  1 เราจะได้จากการหาอนุพันธ์เทียบเวลาว่า n  0 ดังนั้น
dt
r r
d r dn
dt

vL  k
dt

อินทิเกรตทั้งสมการ จะได้ว่า
r r r r
v  L  kn  C
r r r r r
เมื่อ C เป็นเวกเตอร์คงที่ เราจะเห็นภายหลังว่า C  v  L  kn นี้จะเป็นตัวกำาหนดทิศทางของแกนเอก
ของวงโคจร
ขั้นต่อไป พิจารณา
r r r r r r
 
L2  L  r  mv   mr  v  L  mr  k  C cos  
r r
เมื่อ θ คือมุมที่วัดจาก C ไปสู่ r , สมการนี้ทำาให้เราแก้หา r ได้เป็น
L2 km A
r 
1   C k  cos  1   cos 
ซึ่งเหมือนกับในกรณีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ สมการนี้คือสมการของภาคตัดกรวยที่มีโฟกัสอยู่ที่จุดกำาเนิด

วิธีอื่นๆ ในการหาวงโคจร
นอกจากวิธีที่ใช้การวิเคราะห์โดยตรงแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำาให้เราสรุปได้ว่าวงโคจรของ
ดาวเคราะห์ภายใต้แรงดึงดูดที่แปรผกผันกับระยะทางกำา ลังสองนั้นจะเป็นรูปภาคตัดกรวย เช่น การแก้
สมการเชิงอนุพันธ์โดยใช้วิธีการพิจารณาพลังงานหรือศักย์เป็นหลัก [Classical Mechanics 3rd ed. –
Goldstein, Poole & Safko] และ วิธีเรขาคณิตที่ไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ขั้นสูงเลยแต่การอธิบายค่อนข้าง
ยาว จึงไม่ได้นำา มาใส่ไว้ ณ ที่นี้ [Feynman’s Lost lecture: The motion of planets around the sun -
David L. Goodstein, Judith R. Goodstein]

หนังสืออ้างอิง
พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล. ดาราศาสตร์และดาราฟิสิกส์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2528.
วุทธิพันธุ์ ปรัชญพฤทธิ์. ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ : หน่วยของการวัด กฎของการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ภายใต้
อิทธิพลของแรง ทฤษฎีสัมพัทธภาพ). กรุงเทพฯ : สอวน.. 2547.
มงคล ทองสงคราม. เรขาคณิตวิเคราะห์ Analytic Geometry. กรุงเทพฯ : วี. เจ. พริ้นติ้ง, 2543.
Frederick W. Byron, Jr. and Robert W. Fuller. Mathematics of classical and quantum physics.
United States of America : Dover, 1992.
Leon Lederman. The god particle. United States of America : Mariner books, 2006.
David L. Goodstein and Judith R. Goodstein. Feynman’s lost lectures : The motion of planets
around the sun. United States of America : California Institute of Technology, 1996.

Вам также может понравиться