Вы находитесь на странице: 1из 5

บทวิจารณ์หนังสือ โดย วาทินี อมรไพศาลเลิศ

Inclusion in Action
Foreman, P. & Arthur-Kelly, M. (2017). Inclusion in action (5th edition). Victoria: Cengage
Learning Australia.

ระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษทีม่ ีการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมของบุคคลที่มีความต้องการ


พิเศษในสังคม โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวด้านการศึกษาที่มกี ารเรียกร้องให้มีการจัดการศึกษาสําหรับผูเ้ รียนที่มี
ความต้องการพิเศษมีโอกาสสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนทั่วไปเฉกเช่นผู้เรียนคนอื่นๆ หรือที่เรียกว่า การจัดการ
ศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) นับเป็นประเด็นที่สําคัญในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลให้
ประเทศต่างๆออกฎหมายและนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างต่อเนื่องรวมถึง
ประเทศไทย ผลที่ตามมาจากกฎหมายและนโยบายเหล่านี้คือครูในโรงเรียนต่างๆ มีโอกาสได้สอนผู้เรียนที่มี
ความหลากหลายมากขึ้นทั้งผู้เรียนทั่วไปและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากครูเหล่านี้ไม่ได้รับการ
เตรียมพร้อมทัง้ ด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจะส่งผลให้ชั้น
เรียนรวมนั้นประสบความสําเร็จเป็นเรื่องที่ทําได้ยากมาก อาจกล่าวได้ว่าการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึง
ไม่ใช่เรื่องของครูการศึกษาพิเศษหรือผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่มีความต้องการพิเศษอีกต่อไป แต่เป็นความรู้
พื้นฐานที่สําคัญสําหรับโรงเรียน ครู หรือบุคคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละคน
เข้าถึงการศึกษาและได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ในปัจจุบันหลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ใน
มหาวิทยาลัยต่างๆของประเทศไทยได้ดําเนินเปิดรายวิชาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเรียนรวม
หนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเรียนรวมเล่มล่าสุดในปี 2017 นี้ ได้แก่ หนังสือชื่อ
Inclusion in Action มีบรรณาธิการได้แก่ Foreman และ Arthur-Kelly (2017) หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก
ตั้งแต่เมื่อปี 2005 และมีฉบับปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนเล่มล่าสุดเป็นฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 เป็น
หนังสือเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ได้รับความนิยมมากในประเทศออสเตรเลีย โดยถูกนํามาใช้ใน
ประกอบในรายวิชาของหลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตรบัณฑิตในมหาวิทยาลัยต่างๆของประเทศ
ออสเตรเลีย เนื้อหาหลักในหนังสือคืออธิบายเกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่สําคัญรวมไปถึง
หลักการและเทคนิคการวางแผนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลในชัน้ เรียนรวม
โดยเน้นหลักการและเทคนิคที่มีงานวิจัยรองรับเป็นหลัก (Research based Practices) มีกรณีศึกษาจากชั้น
เรียนจริงเป็นตัวอย่างในแต่ละบทเพื่อช่วยให้ผู้อ่านทําความเข้าใจและสามารถนําหลักการ แนวคิดและทฤษฏี
ในหนังสือไปปฏิบัติใช้ในบริบทจริงได้ดียิ่งขั้น หนังสือเล่มนี้เขียนด้วยผู้เขียนหลายท่านในแต่ละบทโดยแบ่งตาม
ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน ผู้เขียนทุกคนเป็นอาจารย์สอนในระดับมหาวิทยาลัยและเป็นผู้มีความรู้ความ


 
เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในระดับชั้นต่างๆในบริบทจริง
จุดมุ่งหมายในการวิจารณ์หนังสือเล่มนี้คือผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะนําเสนอจุดเด่นและการนําไปใช้พร้อมทั้ง
ข้อควรระวังที่ผู้เขียนพบในหนังสือเล่มนี้
จุดเด่นประการแรกคือ ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ว่าหัวใจหลักของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่เอื้อกับเด็ก
ทุกคนในชั้นเรียนไม่ว่าจะมีความต้องการพิเศษหรือไม่ก็ตามนั้นคือ “การสอนที่ดี” ซึ่งหมายถึงการสอนที่
เหมาะสมกับความต้องการของเด็กแต่ละคน Foreman และ Arthur-Kelly (2017) เสนอว่าไม่มีสูตรการสอน
สําเร็จรูปใดๆ กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จะไม่มีการแบ่งเนื้อหาว่าเด็กที่มีความ
ต้องการพิเศษประเภทใดเหมาะสมกับวิธีการสอนแบบใด แต่จะเน้นอธิบายเกี่ยวกับหลักการจัดการเรียนการ
สอนที่ช่วยให้ครูวิเคราะห์ระดับความสามารถของเด็กแต่ละคนและนําข้อมูลนั้นมาออกแบบวางแผนการเรียน
การสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของเขาให้ได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่นการอธิบายหลักการของ
Universal Design for Learning ในชั้นเรียนสําหรับนักเรียนที่มีความต้องการที่หลากหลาย
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จึงออกเป็นทั้งหมด 4 ส่วนหลัก เรียงลําดับจากแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้อง
ไปสู่การจัดการเรียนการสอนและเทคนิคทีก่ ารสอนที่เจาะจงและสรุปด้วยตัวอย่างการจัดการศึกษาแบบเรียน
รวมในช่วงระดับชั้นต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรวม
(Inclusive Environments) ได้อธิบายถึงหลักการ แนวคิด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม รวมถึงองค์ประกอบที่สําคัญในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ส่วนที่ 2 การจัดการเรียนการ
สอนในชั้นเรียนรวม (Inclusive Teaching and Learning Practices) พูดถึงหลักการวางแผนออกแบบ
หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในชั้นเรียนรวม และการส่งเสริม
พฤติกรรมที่ดแี ละปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในชั้นเรียนรวม ส่วนที่ 3 เทคนิคการสอนในชั้นเรียนรวม
(Strategies to Support Inclusive Teaching) จะเจาะจงเทคนิคการสอนตามทักษะสําคัญ (Core skills)
ของนักเรียน ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการอ่านการเขียน และทักษะการคิดคํานวณ และส่วนที่ 4 การ
จัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามช่วงระดับชั้นของโรงเรียน (Inclusive Across the School Years) โดย
อธิบายรายละเอียดของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตั้งแต่ในบริบทระดับชั้นปฐมวัย ระดับประถมศึกษา
และระดับมัธยมศึกษาและการเปลี่ยนผ่านสูว่ ัยทํางาน จากเนื้อหาทั้ง 4 ส่วนหลักนี้ผู้เขียนเห็นว่าหนังสือเล่มนี้
มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและเขียนด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อีกอย่างหนึ่งคือมีการกล่าว
อธิบายถึงการความสําคัญของการมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของบุคคลากรทางการศึกษา
ซึ่งปัจจัยสําคัญที่ทําให้การจัดการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมประสบความสําเร็จซึ่งเขียนอธิบายที่มาและ
ความสําคัญไว้ในส่วนที่ 1 ของหนังสือ ผู้เขียนพบว่าเมื่อนําเนื้อหาในส่วนนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดย
การเปิดอภิปรายกับนิสิตนั้น สามารถเป็นแหล่งข้อมูลที่ดที ี่ช่วยให้นิสิตสะท้อนถึงความมั่นใจและความกังวล
ของตนเองที่มีอยู่ รวมถึงเข้าใจถึงเป้าหมายและความสําคัญของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมมากขึน้


 
จุดเด่นประการต่อมาคือ ผู้แต่งหนังสือในแต่ละบทมีการยกตัวอย่างประกอบไว้เป็นอย่างดี เช่น
ตัวอย่างใบงานเปรียบเทียบระหว่างใบงานที่เหมาะสมกับนักเรียนทั่วไปกับใบงานที่เหมาะสมกับนักเรียนที่มี
ข้อจํากัดด้านการเขียน ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม ตัวอย่างการประเมินที่
หลากหลาย และตัวอย่างการจัดทีม Learning Support Team ในโรงเรียน รวมกันตัวอย่างเทคนิคสําหรับ
การจัดการพฤติกรรมในชั้นเรียนรวมซึ่งนับเป็นสมรรถนะที่สําคัญของครูในชั้นเรียนรวมเนื่องจากที่ผ่านมา
พบว่าปัญหาพฤติกรรมนับเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่สร้างความกังวลใจให้กบั ครูในชั้นเรียนรวมเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ตัวอย่างเหล่านี้ช่วยให้ผอู้ ่านเห็นภาพเป็นรูปธรรมและเกิดความเข้าใจมากขึ้น เนื่องจากหากมีเพียงแค่
หลักการและคําอธิบายแบบความเรียงแล้วโดยปราศจากตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเช่นนี้ เป็นไปได้ยากมากที่ผู้อ่าน
โดยเฉพาะผู้อ่านที่ไม่มีความรูพ้ ื้นหลังเกี่ยวกับด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมหรือการศึกษาพิเศษจะทํา
ความเข้าใจและเห็นการนําไปใช้ได้จริง
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือการมีลูกเล่นต่างๆ ประกอบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
แก่ผู้อ่านในหัวข้อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้อ่านเป็นผู้สอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวมนี้ สามารถใช้ลกู เล่นเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้ เช่น การสอดแทรกกรณี
ตัวอย่างจากชั้นเรียนจริงในบทต่างๆ การอธิบายคําศัพท์เฉพาะทาง คําถามอภิปรายท้ายบท งานมอบหมาย
เดี่ยวท้ายบท และงานมอบหมายกลุ่มท้ายบท Fact sheet หนังสือและเว็บไซต์แนะนําในแต่ละบท โดยเฉพาะ
ในฉบับปรังปรุงล่าสุดนี้ได้เพิ่มการสอดแทรกกล่องสะท้อนคิด (Reflect on this) ในเนือ้ หาแต่ละช่วงเพื่อช่วย
ให้ผู้อ่านได้คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหาที่ผ่านมาและสะท้อนความคิดและความเชื่อจากประสบการณ์จริงของ
ตนเองต่อหัวข้อนั้นๆ ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองที่นํากล่องสะท้อนคิดในหนังสือไปใช้กับนิสิตของตน
พบว่าสามารถกระตุ้นนิสิตให้คิดวิเคราะห์ผ่านการอภิปราย แสดงความคิดเห็นในประเด็นได้เป็นอย่างดี เกิด
ความลึกซึ้งกับประเด็นที่เรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องจากคําถามไม่ยากหรือง่ายเกินไป และส่วนใหญ่เป็นคําถามทีเ่ ป็น
Controversial issue ในปัจจุบันที่ยังมีการถกเถียงกันอยู่
นอกจากจุดเด่นที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักวิชาการในประเทศ
ออสเตรเลียเป็นหลัก ผู้เขียนพบว่าเนื้อหาส่วนหนึ่งเน้นไปในบริบทของประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะการ
อธิบายเกี่ยวกับกฎหมายด้านการศึกษาและหลักสูตรพื้นฐานของสถานศึกษาของแต่ละรัฐ และการกล่าวถึงเด็ก
ที่มาจากชนพื้นเมืองหรือชนเผ่าอะบอริจินัลรวมถึงเด็กที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอน จึงอาจทําให้ผู้อ่านที่
ไม่คุ้นเคยกับบริบทของประเทศออสเตรเลียเกิดความสับสนในเนื้อหาส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ดีหากผู้อ่านต้องการ
นําหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอน ผู้เขียนเสนอแนะว่าเราสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้
โดยการนําเนื้อหานี้เปรียบเทียบวิเคราะห์กับบริบทของประเทศไทยแก่นิสิตนักศึกษา นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้
ไม่ได้อธิบายลักษณะความบกพร่องประเภทต่างๆตามกฏหมายทางการการศึกษาอย่างละเอียด เช่น ผู้เรียนที่มี
ภาวะออทิซึม ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีเพียงแต่ส่วนในบทที่ 1 ที่อธิบายการแบ่งความ


 
บกพร่องเป็นกลุ่มใหญ่ตามลักษณะเด่นเท่านั้น หนังสือเล่มนี้จึงไม่เหมาะสมกับผู้อ่านทีต่ ้องการความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับลักษณะความต้องการพิเศษของผู้เรียนแต่ละประเภทอย่างลึกซึ้ง และไม่เหมาะสมกับผู้อ่านที่ต้องการ
เรียนรู้เทคนิคการสอนที่เจาะจงกับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นหรือผู้เรียนทีม่ ีความบกพร่องทางการ
ได้ยินที่จําเป็นต้องใช้เทคนิคและสื่อที่เฉพาะเจาะจง เช่น การสร้างสื่ออักษรเบลล์ เนื่องจากเนื้อหาหัวข้อ
เทคนิคการสอนในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้กล่าวถึงอย่างเฉพาะเจาะจง หากต้องการศึกษาหัวข้อดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง
ผู้เขียนแนะนําให้ศึกษาจากหนังสือที่เน้นด้านการศึกษาพิเศษโดยเฉพาะ เช่น Exceptional learners: An
Introduction to Special Education เขียนโดย Hallahan, Kauffman และ Pullen (2015).
ข้อพึงระวังประการต่อมาคือเนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เขียนเน้นในบริบทของประเทศออสเตรเลีย
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีการอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับเจาะลึกเกี่ยวกับ Response to Intervention (RTI) และ
Multi-tiered Student Support (MTSS) ที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดการศึกษาสําหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง
ล่าสุดของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เปรียบเสมือนกรอบหลักในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในปัจจุบัน รวมถึง
การอธิบายหลักการและตัวอย่างของ Curriculum based Measurement (CBM) ที่เป็นหนึ่งในวิธีการ
ประเมินผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับความนิยมในประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่หนังสือเล่มนี้ผู้แต่ง
ได้อธิบายหลักการเพียงกว้างๆเท่านั้น ซึ่งถ้าผู้อ่านสนใจศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการวัดและประเมินผลสําหรับชั้น
เรียนรวม ผู้เขียนแนะนําให้หนังสือเช่น Assessment in special education and inclusive education
เขียนโดย Salvia, Ysseldyke และ Witmer (2017) นอกจากนี้พบว่าการอธิบายเรื่องการทํางานร่วมกันเป็น
ทีม หรือ Team collaboration ในหนังสือเล่มนี้เป็นไปในลักษณะการสอดแทรกหัวข้อต่างๆ ตามบริบทของ
ระดับชั้นเท่านั้น ไม่มีการกล่าวถึงรูปแบบการทํางานเป็นทีมในลักษณะต่างๆ หรือการเน้นบทบาทหน้าที่ของ
สมาชิกในทีมทีช่ ัดเจนเท่าไหร่นัก ซึ่งแท้จริงแล้วประเด็นเรื่องการทํางานร่วมกันเป็นทีมนับเป็นจุดเน้นในการจัด
การศึกษาแบบเรียนรวมเช่นกัน
แม้ว่าจุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อกลุ่มเป้าหมายหลักคือนิสิตนักศึกษาในหลักสูตร
ครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษาและระดับมหาบัณฑิต และอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยในการ
นําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แต่ผู้เขียนคิดว่า
หนังสือนี้เหมาะสมกับผู้ทสี่ นใจด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม นักวิชาการ โดยเฉพาะครูทั่วไป และครู
การศึกษาพิเศษ รวมถึงผู้บริหารในโรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ทัศนคติที่ดี และทําความเข้าใจเกี่ยวกับ
ประเด็นการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมมากขึ้น

รายการอ้างอิง


 
Foreman, P., & Arthur-Kelly, M. (2017). Inclusion in action (5th edition). Victoria: Cengage
Learning Australia.
Hallahan, D.P., Kauffman, J.M., & Pullen, P.C. (2015). Exceptional Learners: An Introduction to
Special Education (13th edition). Upper Saddle River, NJ: Pearson.
Salvia, J., Ysseldyke, J., & Witmer, S. (2017). Assessment: In special and inclusive education.
(13th edition). Cengage Learning.


 

Вам также может понравиться